http://www.srichinda.com
    
 ศรีจินดาหน้าหลัก  มีข่าวดีมาบอก  วิธีชำระเงิน  ศรีจินดาChat room  วิธีสั่งซื้อ-จัดส่ง  Awards : รางวัล แผนที่-ติดต่อศรีจินดา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
Menu
ศรีจินดาหน้าหลัก
มีข่าวดีมาบอก
วิธีชำระเงิน
ติดต่อศรีจินดา
วิธีสั่งซื้อ-จัดส่ง
ศรีจินดาChat room
หมวดหมู่สินค้า
สินค้ามาใหม่
สินค้าขายดี
 สินค้า
 สินค้าไทย ( Thai )
 สินค้าทิเบตและAsia
 สินค้าเทวรูป-ฮินดู
 หินมงคลแห่งรัก
 อุปกรณ์บูชาอื่นๆ
รู้เรื่อง : ฮินดูเทพ
รู้เรื่องพระพิฆเนศ
ย้อนรอยรุ่นดัง
สถานที่แห่งศรัทธา
พระราชพิธีและพิธีสำคัญทางศาสนา
 

สักการะ"พระพิฆเนศ" 6 แห่งใน กทม.

(อ่าน 15301/ ตอบ 7)

น้องหนุน (Member)

สักการะ"พระพิฆเนศ" 6 แห่งใน กทม.


**********************************************************************************


พระพิฆเนศบริเวณหน้าห้าง เซ็นทรัลเวิล


 


บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ใกล้สี่แยกราชประสงค์ สี่แยกราชประสงค์ ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งรวมเทพเจ้าหลายๆ องค์ ทั้งพระพรหม พระตรีมูรติ พระอินทร์ พระนารายณ์ ฯลฯ และสำหรับองค์พระพิฆเนศนั้น ก็ประดิษฐานอยู่ใกล้ๆ กับพระตรีมูรติ คืออยู่ด้านริมสุดของห้างเซ็นทรัลเวิลด์ และมีผู้คนมากราบไหว้กันไม่ขาดสาย


หากใครต้องการมาไหว้พระพิฆเนศ สิ่งของเซ่นไหว้ที่เหมาะสมนั้นก็คือ ผลไม้ เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม มะพร้าว มะม่วง องุ่น แอปเปิล ชมพู่ มะละกอ แตงโม อ้อยควั่น ขนมหวานก็เช่นขนมถ้วยฟู ทองหยิบ ทองหยอด ลูกชุบ นมสด ส่วนดอกไม้ก็มักเป็นดอกไม้สีสด อย่างดอกชบา ดอกดาวเรือง ดอกเบญจมาศ และธูป 9 ดอก และงดเว้นอาหารคาว ผู้คนที่มาไหว้ส่วนใหญ่ก็มักจะขอเรื่องเกี่ยวกับการงาน หรือขอให้สิ่งที่หวังและตั้งใจนั้นสำเร็จลงด้วยดี


น้องหนุน (Member)

วัดพระศรีอุมาเทวี ( วัดแขก )




"วัดพระศรีมหาอุมาเทวี" หรือที่รู้จักกันในชื่อวัดแขกสีลม วัดแขกนี้ถือเป็นวัดฮินดูที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ตัววัดเป็นศิลปะแบบอินเดียตอนใต้ ภายในมีเจ้าแม่ศรีมหาอุมาเทวีเป็นประธาน และยังมีพระพิฆเนศ พระขันธ์กุมาร พระศิวะ พระกฤษณะ พระวิษณุ พระแม่รัศมี และพระแม่กาลี อยู่แวดล้อมอีกด้วย ใครที่มาไหว้พระพิฆเนศก็จะได้ไหว้เหล่าเทพทั้งหลายนี้ด้วย


สำหรับพระพิฆเนศภายในวัดแขกนี้ อยู่ในลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิ มี 4 กร เป็นศิลปะแบบอินเดียตอนใต้ตอนปลาย มีพระองค์อ้วนเตี้ย ค่อนข้างเทอะทะแต่แฝงไว้ซึ่งความหนักแน่นและมีอำนาจ ผู้ที่เคารพศรัทธาควรหาโอกาสมาไหว้สักครั้ง






วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก)



          สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณ พ.ศ.2438 เมื่อนายไวตีฯ และญาติมิตรที่ตั้งบ้านเรือนอยู่บนถนนสีลมมีศรัทธาจัดสร้างวัดเพื่อเป็นที ่บูชาพระอุมา ตามลัทธิศักติทางศาสนาฮินดู คณะกรรมการอาทิ นายไวตรีประเดียอะจิ นายนารายเจติ นายโกบาระตี ได้ขอแลกที่ดินของพวกตนกับสวนผักของนางปั้น อุปการโกบาระตี ได้ขอแลกที่ดินของพวกตนกับสวนผักของนางปั้น อุปการโกษากร ที่ริมถนนสีลมเพื่อสร้างวัดพระศรีมหาอุมาเทวี ภายในวัดมีเทพเจ้าทางศาสนา ฮินดูอยู่หลายองค์         











วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก)



         วัดแขกเดิมเป็นสถานที่จำเพาะของผู้นับถือศาสนาฮินดูเท่านั้น ในตอนบ่ายจะมีการปิดโบสถ์ เพื่ออ่านรามเกียรติ์เพื่อสรรเสริญพระเป็นเจ้า เทศกาลที่ชาวเมืองมีโอกาสเข้าร่วมด้วยคือ เทศกาลแห่เจ้าแม่วัดแขก ประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี "เทศกาลนวราตรี"หรือ "เทศกาลดุซเซร่า" มีการจัดขบวนอัญเชิญเจ้าแม่แห่ไปตามถนนรอบชุมชนฮินดูจากสีลมไปเดโช แล้วย้อนมาที่ถนนปั้นไปออกถนนสาธรแล้ววกกลับที่ถนนสุรศักดิ์ เพื่อมายังหน้าวัดที่ถนนสีลมอีกครั้งหนึ่ง         











วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก)



         ในปัจจุบัน วัดแขกเปิดกว้างต้อนรับผู้คนมากขึ้น ทั้งผู้มีจิตศรัทธาองค์พระศรีมหาอุมาเทวีไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดๆ รวมทั้งนักท่องเที่ยวต่างชาติ และมีการสร้างสถาปัตยกรรมแบบอินเดียตอนใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งโคปุระ หรือซุ้มประตูที่ตกแต่งเป็นรูปปูนปั้นเทพเจ้าต่างๆ


น้องหนุน (Member)

"วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรุงเทพฯ"



วิทยาลัยที่เป็นแหล่งผลิตนักเรียนนักศึกษาด้านนาฏศิลป์และดุริยางค์ศิลป์ ที่ตั้งอยู่ใกล้กับเชิงสะพานปิ่นเกล้าฝั่งพระนครกันบ้าง อย่างที่ฉันบอกไปในตอนต้นว่าพระพิฆเนศนั้นถือเป็นบรมครูทางนาฏกรรมและศิลปะทั้งหลาย ทางวิทยาลัยจึงได้มีการสร้างพระพิฆเนศไว้สำหรับให้นักเรียนนักศึกษาและอาจารย์ได้กราบไหว้บูชากัน สำหรับใครที่อยากจะเข้าไปกราบไหว้ท่านก็สามารถเดินเข้ามาในโรงเรียน บอกยามที่เผ้าประตูว่าต้องการมาสักการะพระพิฆเนศ เขาก็จะอนุญาตให้เข้ามาได้


สำหรับพระพิฆเนศในวิทยาลัยนาฏศิลป์นี้ ได้นำมาประดิษฐานไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2477 ซึ่งเป็นปีที่โรงเรียนเปิดสอน ความพิเศษขององค์พระพิฆเนศนี้นอกจากความสวยงามแล้ว ก็ยังนับเป็นผลงานออกแบบของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี โดยมีนายชิ้น ชื่นประสิทธิ์ เป็นผู้ลงมือปั้นอีกด้วย

       

       อีกทั้งแท่นหินที่เป็นฐานรองพระพิฆเนศนั้น ก็ยังเป็นวัตถุอนุสรณ์ในส่วนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริให้จัดสร้างปฐมบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในโอกาสฉลองอายุพระนครครบ 100 ปีใน พ.ศ.2425 แต่ภายหลังช่างทำไม่สำเร็จเนื่องจากความผิดพลาดในการคำนวณแบบก่อสร้าง แท่นหินนี้จึงถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จนเมื่อมีโครงการจัดสร้างองค์พระพิฆเนศเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของสถาบัน แท่นหินนี้จึงกลายมาเป็นที่ประดิษฐานองค์พระพิฆเนศอย่างที่เห็นในปัจจุบัน



ประติมากร : ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

น้องหนุน (Member)

"เทวสถาน" หรือโบสถ์พราหมณ์




ซึ่งภายในเทวสถานนั้น มีโบสถ์อยู่สามหลังด้วยกัน คือสถานพระอิศวร เป็นโบสถ์ใหญ่ สถานพระพิฆเนศวร เป็นโบสถ์กลาง และสถานพระนารายณ์ เป็นโบสถ์ริม สำหรับสถานพระพิฆเนศวรนั้น ภายในมีเทวรูปของพระพิฆเนศวรอยู่ 5 องค์ด้วยกัน ทำด้วยหินแกรนิต 1 องค์ หินทราย 1 องค์ หินเขียว 2 องค์ และทำด้วยสำริดอีก 1 องค์


สำหรับใครที่อยากเข้าไปกราบสักการะพระพิฆเนศในโบสถ์พราหมณ์นั้น ก็จะต้องมาในวันพฤหัสบดี และวันอาทิตย์เท่านั้น มิฉะนั้นก็จะได้ไหว้แต่เพียงภายนอกโบสถ์

น้องหนุน (Member)

"วัดเทพมณเฑียร"


ไม่ไกลจากเทวสถาน ก็ยังมีสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่เราสามารถเข้าไปไหว้พระพิฆเนศได้ นั่นก็คือที่ "วัดเทพมณเฑียร"



บริเวณด้านหน้าวัดเทพมณเฑียร ภายในรั้วเดียวกับโรงเรียนภารตวิทยาลัย



"วัดเทพมณเฑียร" ซึ่งตั้งอยู่ในโรงเรียนภารตะวิทยา ข้างๆ โรงเรียนเบญจมราชาลัย โดยก่อนหน้าที่จะมีการก่อสร้างวัดเทพมณเฑียรนี้ ชาวฮินดูได้พร้อมใจกันจัดตั้งสมาคมเพื่อรวมใจชาวภารตะให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยใช้ชื่อว่า "ฮินดูสภา" และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สมาคมฮินดูสมาช" มาจนถึงปัจจุบัน และต่อมาทางสมาคมก็ได้จัดตั้งโรงเรียนภารตวิทยาลัยขึ้นในบริเวณเดียวกัน เนื่องจากเห็นความสำคัญของการศึกษา แม้จะชื่อว่าภารตวิทยาลัย แต่ก็รับนักเรียนทุกเชื้อชาติศาสนาให้เข้าเรียนร่วมกันโดยไม่แบ่งแยก


และหลังจากสร้างโรงเรียนเรียบร้อยแล้ว ก็ได้มีการสร้างโบสถ์เทพมณเฑียรขึ้น และได้อัญเชิญเทวปฏิมา ปฏิมาของพระผู้เป็นเจ้าและเทพยดาอันเป็นที่เคารพสักการะของชาวฮินดู มาจากประเทศอินเดีย (พร้อมกับแผ่นหินอ่อนแกะสลักทั้งหมด) และอัญเชิญดินศักดิ์สิทธิ์จากพุทธสังเวชนียสถาน 4 แห่ง และน้ำจากแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ในอินเดีย เช่น แม่น้ำคงคา ยมุนา และสุรัสวดี ฯลฯ มารวมกันและนำมาประดิษฐานไว้ที่โบสถ์เทพมณเฑียรแห่งนี้ด้วย

       

       หากใครต้องการจะขึ้นไปกราบสักการะพระพิฆเนศ ก็เช่นเดียวกับที่วิทยาลัยนาฏศิลป์คือแจ้งความต้องการกับยามหน้าโรงเรียนเสียก่อน แล้วเขาจะชี้ทางเดินขึ้นไปกราบไหว้เทพเจ้าต่างๆ ให้

น้องหนุน (Member)

"สี่แยกรัชดา-ห้วยขวาง











หากใครที่ได้มีโอกาสผ่านมาผ่านไปบริเวณสี่แยกรัชดา-ห้วยขวางบ้าง

อาจจะเคยได้เห็น "ศาลพระพิฆเนศ สี่แยกรัชดาห้วยขวาง"


 

น้องหนุน (Member)

วัดวิษณุ


        



ศาลาวัดวิษณุ ใช้ในการประชุม เพื่อประกอบศาสนกิจหลายๆประการ



พระศิวะ พระแม่อุมาเทวี และพระพิฆเนศหินอ่อน







เทวรูปพระพิฆเนศหินอ่อน พร้อมทั้งพุทธิและสิทธิ ชายาของพระองค์




พระกฤษณะและราธาเทวี อีกปางอวตารของพระวิษณุและพระแม่ลักษมี





พระหนุมาน ปางอวตารของพระศิวะ

ที่เข้าช่วยเหลือพระรามในการปราบทศกัณฑ์



 


วัดวิษณุ ตั้งอยู่เลขที่ 50 ซอยวัดปรก เขตยานนาวา กทม.

สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2463 ด้วยชาวอุตตรประเทศ จากประเทศอินเดีย

เป็นวัดของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เพียงแห่งเดียวในเอเชียอาคเนย์

ที่มีเทวรูปศักดิ์สิทธิ์สร้างด้วยหินอ่อนแกะสลักด้วยมือจากประเทศอินเดีย ครบ 24 องค์



ภายในวัดวิษณุ มีความคล้ายคลึงกับวัดเทพมณเฑียร



http://vishnutemplebangkok.com/


Page : 1
Lock Reply
 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 07/07/2008
ปรับปรุง 30/03/2023
สถิติผู้เข้าชม5,344,006
Page Views6,873,032
สินค้าทั้งหมด 309
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
1-Surin-News
ไปรษณีย์ไทยEMS
Dictionary-Thai-English
รวยด้วย Ebay
ข่าวสดออนไลน์
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สลากกินแบ่งรัฐบาล
Igetweb
Tarad.com
PaySbuy
Web-ClipVedeo
เพื่อนบ้านทั้งหมด
 ศรีจินดาหน้าหลัก  ศรีจินดาพาธรรม  ศรีจินดาWebboard  ศรีจินดาพาทัวร์  วิธีชำระเงิน  วิธีสั่งซื้อ-จัดส่ง  ติดต่อศรีจินดา
view