พระคเณศประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร ปี 2549 ( รุ่นแรก )
เนื่องในโอกาส ฉลองสิราชสมบัติ 60ปี
( เอกสาร โบชัวร์ รุ่นแรก )
ข้อมูลเพิ่มเติม
มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านศิลปะ มีพระคเณศ เทพเจ้าแห่งความรอบรู้ศิลปะวิทยาการบันดาลความสำเร็จแห่งกิจกรรมทั้งปวงเป็นตราสัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีโครงการจัดสร้างเทวรูปองค์พระคเณศและเทวาลัย ณ วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นวิทยาเขตล่าสุดของมหาวิทยาลัยศิลปากร และเพื่อสร้างสิ่งที่เป็นรูปลักษณ์และเป็นศูนย์รวมจิตใจของบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรและประชาชนทั่วไป
การดำเนินในครั้งนี้มหาวิทยาลัยศิลปากรได้มอบหมายให้อาจารย์ เสวต เทศน์ธรรม ประติมากร ศิษย์ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบปั้นและหล่อ และเนื่องจากปี พ . ศ. 2549 เป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี จึงเห็นควรให้การดำเนินการสร้างพระคเณศของมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นกิจกรรมร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสดังกล่าวด้วย และเป็นสิ่งสำคัญที่มีส่วนในการกำหนดขนาดหน้าตักกว้าง 9.6 นิ้ว ขององค์พระคเณศ และเมื่อขยายแบบเป็นองค์จริงแล้วจะมีขนาดหน้าตักกว้าง 96 นิ้ว ( 2 เมตร 45 เซนติเมตร) ซึ่งจะเป็นองค์พระคเณศหล่อโลหะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
เทวะลักษณะองค์พระคเณศมีพระอิริยาบทนั่ง มี 4 กร ทรงวัชระ ปาศะ ทันตะ และถ้วยข้าวต้ม สวมสายธุรำเป็นพญานาค มีเทวะลักษณะเป็นเทพที่มีพระวรกายสมบูรณ์อิ่มเอิบและเน้นความกลมกลึง สวมสังวาลย์งู เป็นแบบเฉพาะ มหาวิทยาลัยคาดว่าองค์พระคเณศจริงจะปั้นหล่อเสร็จราวเดือนกรกฎาคม 2549 โดยจะจัดสร้างเทวาลัยเพื่อประดิษฐานองค์พระคเณศที่บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี และเพื่อให้เทวาลัยมีความโดดเด่นศักดิ์สิทธิ์และสง่างาม มหาวิทยาลัยได้เชิญอาจารย์ ดร. ประเวศ ลิมรังษี ศิลปินแห่งชาติผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมไทย ดำเนินการออกแบบฐานเทวาลัยและฐานที่ตั้ง ณ บริเวณวงเวียนด้านในตรงประตูทางเข้ามหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร . สุพักตรา สุทธสุภา ผู้เชี่ยวชาญการตกแต่งภูมิทัศน์ ดำเนินการออกแบบตกแต่งพื้นที่โดยรอบเทวาลัยพระคเณศให้สมบูรณ์สวยงามยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยศิลปากรจะจัดทำเหรียญพระคเณศเพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคร่วมทุนสร้างพระคเณศได้บูชา โดยมอบหมายให้ อาจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน อาจารย์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ นายกสมาคมประติมากรไทยเป็นผู้ออกแบบปั้นเหรียญดังกล่าว
**********************************************************************************************************************