“ มหาเทพพิฆเนศวร”
เพื่อเด็กด้อยโอกาส วัดดอนจั่น จ.เชียงใหม่
ประติมากร : อาจารย์นพรัตน์ บุญมี
พิธีมหามังคลาพุทธาเทวาภิเษก 5 วาระ
( จัดเรียบเรียงข้อมูลเพื่อความเรียบร้อยในการอ่านข่าวสาร )
ภาพโปสเตอร์ “ มหาเทพพิฆเนศวร ” มีเพียง 2 แบบเท่านั้น
(หากมีความคืบหน้า ทางทีมงานจะแจ้งให้ทราบอีกทีกเป็นระยะ )
|
|
รูปแบบองค์จริง
มหามังคลาพุทธาเทวาภิเษก มวลสารและวัตถุมงคล และอัญเชิญองค์ต้นแบบ ที่ได้ไปยาตรายังอินเดีย สู่มณฑลที่ประทับ วัดดอนจั่น ต.ท่าศาลา อ.เมือง จ. เชียงใหม่
ช่วงเช้า 9.00 น.เริ่มพิธีบวงสรวง " มาหาเทพพิฆเนศวร " และ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ช่วงบ่าย 15.00 น. อัญเชิญองค์ต้นแบบจากพิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ จ.เชียงใหม่ สู่มณฑลพิธี ณ วัดดอนจั่น
พราหมณ์ขจร นาคะเวทิน ผู้ก่อตั้งมูลนิธิพระพิฆเนศ พราหมณ์หลวง กองพระราชพิธีสำนักพระราชวัง และ บัณฑิตวิทยาธร สุกุล พราหมณ์ ประธานปุโรหิต เทวสถานเทพมณเฑียร สมคมฮินดูสมาช ประธานฝ่ายพราหมณ์ ทำพิธีเทวาภิเษกพระอธิการอานันท์ อานันโท ประธานฝ่ายสงฆ์ ทำพิธีพุทธาพิเษก
องค์พิเศษที่สร้างขึ้น เฉพาะบูชา ในวันที่ 23 ต.ค. 50 วัดดอนจั่น จ. เชียงใหม่
มหาเทพพิฆเนศวร
ลักษณะความหมาย ปางค์ , พระกร ทั้ง 4 , เครื่องทรง และ พาหนะ
1. “มหาเทพพิฆเนศวร” ทรงเป็นปางค์ประทับยืน และกำลังเดิน แสดงถึงการเดินที่ก้าวไปข้างหน้า
2. พระกรขวาบนทรง “วัชระ” อันหมายถึง เพื่อเป็นการปกป้องคุ้มครอง และ ขจัดอุปสรรคจากต่างๆ
3. พระกรขวาล่าง แสดงถึงปางค์ “ วิตตะกะมุทรา” ซึ่งหมายถึงการแสดงธรรม พระกรนี้จะทรง “ทันตะ”หรืองาที่หัก เพื่อสามารถใช้เขียน รจนาคัมภีร์ และ คัมภีร์ ต่างๆ
ภายในพระกรขวาล่าง ทรงมีเครื่องหมาย “ โอม ”ซึ่งแสดงถึงความเป็น “ตรีมูระติ” คือ อันเป็นตัวแทน พระพรหมณ์ , พระวิษณุ และ พระศิวะ
4. พระกรซ้ายบน จะทรงเทพศาสตร์ตราวุธ 2 อย่าง คือ“ ดอกบัว” และ “บ่วง”
ซึ่งดอกบัว แสดงถึงการรู้แจ้ง หลุดพ้นจากอดีต และ สำหรับบ่วง นั้นหมายถึง การใช้รัดกิเลส ของศิษยานุศิษย์ ให้อยู่ในลู่ในธรรม
5. พระกรซ้ายล่างทรงถือ ขนม “โมทะกะ” นั้นแสดงถึงการประทานขนม
ให้แก่ ศิษยานุศิษย์ที่มากราบสักการะพระองค์
6. เครื่องทรงต่างๆ ได้เป็นการผสมรูปแบบเครื่องทรง ระหว่าง ไทย และ อินเดีย
7. “มงกุฏ” ของพระองค์ จะมีรัศมีแผ่ไปทั่วทุกสารทิศ
8. ทุกนิ้วของพระองค์ทรงสวม พระธรรมรงค์ ทุกๆนิ้ว ซึ่งแสดงถึงการเป็นเทพ เทพที่สมบูรณ์ และ เมื่อจะออกหน้าสมาคม จะทรง พระธรรมรงค์ในทุกๆนิ้ว
9. กายของพระองค์จะมีลักษณะที่ “อวบอ้วน” ดังพระนามหนึ่งของพระองค์ว่า “รามโภธร” คือผู้ที่ท้องใหญ่ แสดงถึงความเป็นมงคลจักรวาล ดังพระรามที่เรารู้จักกัน ว่า “มงคลมูละฏิ” หมายถึงผู้ที่มีรูปแห่งความเป็นมงคล
10. ทรงมีพาหะนะ “มุริกะ” หรือ หนู เป็น 1 ใน 3 ของสัตว์พาหนะ ของพระองค์ ซึ่งชาวอินเดียถือว่า หนูเป็นพาหนะ ของพระองค์โดยแท้จริง